เมนู

มิตรมีอุปการะ 1 มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ 1 มิตร
แนะประโยชน์ 1 มิตรมีความรักใคร่ 1 ว่าเป็น
มิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไป คบหาโดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่อง
สว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ
อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึง
ความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น
ฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม
โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ
ออกเป็น 4 ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้
สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ
งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย
หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.


กถาว่าด้วยทิศ 6



[198] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง 6
อย่างไร. ท่านพึงทราบทิศ 6 เหล่านี้คือ พึงทราบมารดาบิดาว่า เป็นทิศ
เบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร

และอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณ-
พราหมณ์ เป็นทิศเบื้องบน.
[199] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อัน
บุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจัก
เลี้ยงท่านตอบ 1 จักรับทำกิจของท่าน 1 จักดำรงวงศ์ตระกูล 1 จักปฏิบัติ
ตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก 1 เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศ
ให้ท่าน 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึง
บำรุงด้วยสถาน 5 เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 5 คือ ห้าม
จากความชั่ว 1 ให้ตั้งอยู่ในความดี 1 ให้ศึกษาศิลปวิทยา 1 หาภรรยาที่
สมควรให้ 1 มอบทรัพย์ให้ในสมัย 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง
ด้วยสถาน 5 เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 4 เหล่านี้ ทิศ
เบื้องหน้านั้น ชื่อว่า อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้
[200] ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์
บำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ 1 ด้วยเข้าไปยินคอยต้อนรับ .
ด้วยการเชื่อฟัง 1 ด้วยการปรนนิบัติ 1 ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดย
เคารพ 1.

ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์พึงบำรุง
ด้วยสถาน 5 เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน 5 คือ แนะนำ
ดี 1 ให้เรียนดี บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด 1 ยกย่องให้ปรากฏ
ในเพื่อนฝูง 1 ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย 1
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วย
สถาน 5 เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน 5 เหล่านี้ ทิศ
เบื้องขวานั้น ชื่อว่า อันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[201] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึง
บำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา 1 ด้วยไม่ดูหมิ่น 1 ด้วย
ไม่ประพฤตินอกใจ 1 ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ 1 ด้วยให้เครื่องแต่งตัว 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วย
สถาน 5 เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5 คือ จัดการงานดี 1
สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี 1 ไม่ประพฤตินอกใจสามี 1 รักษาทรัพย์ที่
สามีหามาให้ 1 ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5 เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น
ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ .
[202] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตร
พึงบำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยการให้ปัน 1 ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก 1

ด้วยประพฤติประโยชน์ 1 ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ 1 ด้วยไม่แกล้งกล่าว
ให้คลาดจากความเป็นจริง 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน 5 เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 5 คือ รักษามิตร
ผู้ประมาทแล้ว 1 รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว 1 เมื่อมิตรมีภัย เอา
เป็นที่พึงพำนักได้ 1 ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ 1 นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูล
ของมิตร 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน 5 เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 5 เหล่านี้ ทิศ
เบื้องซ้ายนั้นชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[203] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อัน
นายพึงบำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง 1
ด้วยให้อาหารและรางวัล 1 ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ 1 ด้วยแจกของมีรส
แปลกประหลาดให้ 1 ด้วยปล่อยให้ในสมัย 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน 5 เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน 5 คือ ลุกขึ้นทำ
การงานก่อนนาย 1 เลิกการงานทีหลังนาย 1 ถือเอาแต่ของที่นายให้ 1
ทำการงานให้ดีขึ้น 1 นำคุณของนายไปสรรเสริญ 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน 5 เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน 5 เหล่านี้ ทิศ

เบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า อันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[204] ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน
อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน 5 คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา 1
ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา 1 ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา 1
ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู 1 ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงด้วยสถาน 5 เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 6
เหล่านี้ คือ ห้ามจากความชั่ว 1 ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วย
ใจงาม 1 ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 1 ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง 1
บอกทางสวรรค์ให้ 1.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงแล้วด้วยสถาน 5 เหล่านี้ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 6 เหล่านี้
ทิศเบื้องบนนั้นชื่อว่า อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญให้ไม่มีภัย ด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[205 ] มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็น
ทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร
อำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศ
เบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์

ในตระกูล ผู้สามารถพึงนอบน้อมทิศเหล่านี้.
บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นคนละเอียด
และมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่
ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนหมั่นไม่
เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหว ในอันตราย
ทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี
ปัญญา ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนผู้สงเคราะห์
แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าว
ปราศจากตระหนี่เป็นผู้แนะนำ ชี้แจง ตาม
แนะนำ ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ.
การให้ 1 เจรจาไพเราะ 1 การประพฤติ
ให้เป็นประโยชน์ 1 ความเป็นผู้มีตนเสมอใน
ธรรมทั้งหลายในคนนั้น ๆ ตามควร ธรรม
เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็น
เหมือนเพลารถอันแล่นไปอยู่ จากธรรมเครื่อง
ยึดเหนี่ยวเหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้มารดาบิดาไม่พึง
ได้ความนับถือ หรือความบูชา เพราะเหตุแห่ง
บุตร. เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็น
ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น
บัณฑิตเหล่านั้น จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็น
ผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้าดังนี้.

[206] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดี
บุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน
ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระ-
รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบ สิงคาลกสูตรที่ 8

อรรถกถาสิงคาลกสูตร

สิงคาลกสูตรมีบทเริ่มต้นว่าข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-
ต่อไปจะพรรณนาบทที่ยาก ในสิงคาลกสูตรนั้น. บทว่า เวฬุวัน
ในบทว่า พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เป็น
ชื่อของอุทยานนั้น. ได้ยินว่า อุทยานนั้นได้ล้อมด้วยไม้ไผ่ ประกอบด้วย
ซุ้มประตูและหอคอย โดยกำแพงสูง 18 ศอก มีแสงเขียว เป็นที่น่า
รื่นรมย์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน อนึ่ง ชนทั้งหลายได้ให้
เหยื่อแก่กระแตในสวนเวฬุวันนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กลันทกนิวาป
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต.
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อน พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จประพาสสวน
ณ ที่นั้น เสวยน้ำโสมจนทรงเมา บรรทมหลับในกลางวัน. แม้ชน
บริวารของพระองค์คิดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกยั่วด้วยดอกไม้
และผลไม้เป็นต้น จึงเลี่ยงออกไปจากที่นั้น ๆ. ครั้งนั้น งูเห่า เพราะได้
กลิ่นเหล้าจึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่งมาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระราชา.
รุกขเทวดาเห็นงูนั้นคิดว่า เราจะให้ชีวิตพระราชาดังนี้ จึงแปลงเพศเป็น
กระแตมาแล้ว ทำเสียงใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่น. งูเห่าก็เลื้อยหนี
ไป. พระราชาทอดพระเนตรกระแตนั้นทรงพระดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิตเรา
จึงรับสั่งให้จัดหาเหยื่อมาตั้งไว้ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ประกาศ ให้อภัยแก่กระแต
ทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงถือว่าเป็นที่พระราชทาน

เหยื่อแก่กระแต. อนึ่ง บทว่า กลนฺทกา นี้ เป็นชื่อของกระแต. บทว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
กรุงราชคฤห์ให้เป็นโคจรคามแล้ว ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็น
ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต บทว่า สิงฺคาลโก คหปติปุตฺโต เป็นชื่อ
ของคฤหบดีบุตรนั้น. บทว่า บุตรของคฤหบดี คือ คฤหบดีบุตร. ได้ยินว่า
บิดาของคฤหบดีบุตรนั้น เป็นคฤหบดีมหาศาล. ก็คฤหบดีนั้นมีทรัพย์เก็บไว้
ในเรือน 40 โกฏิ. คฤหบดีนั้น ถึงความเชื่อมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นอุบาสกผู้โสดาบัน. แม้ภรรยาของเขาก็ได้เป็นโสดาบันเหมือนกัน. แต่
บุตรของเขาไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส. ครั้งนั้น มารดาและบิดาย่อมสั่งสอน
บุตรนั้นเนื่อง ๆ อย่างนี้ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เข้าไปหา
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
พระมหาสาวก 80. บุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า การเข้าไปหาสมณะทั้งหลาย
ของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน เพราะการเข้าไปหาสมณะทั้งหลายก็ต้องไหว้
เมื่อก้มลงไหว้หลังก็เจ็บ เข่าก็ด้าน จำเป็นต้องนั่งบนพื้นดิน เมื่อนั่งบน
พื้นดินนั้น ผ้าก็จะเปื้อนจะเก่า จำเดิมแต่เวลานั่งใกล้ ย่อมมีการสนทนา
เมื่อมีการสนทนา ย่อมเกิดความคุ้นเคย แต่นั้นย่อมต้องนิมนต์แล้วถวาย
จีวรและบิณฑบาตเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ประโยชน์ย่อมเสื่อม การ
เข้าไปหาพวกสมณะของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน ดังนี้ . มารดาบิดาแม้
สอนบุตรของเขาจนตลอดชีวิต ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถจะนำเข้าไป
ในศาสนาได้. ย่อมา บิดาของเขานอนบนเตียงมรณะคิดว่า ควรจะให้
โอวาทแก่บุตรของเรา แล้วคิดต่อไปว่า เราจักให้โอวาทแก่บุตรอย่างนี้ว่า
นี่แน่ลูก ลูกจงนอบน้อมทิศทั้งหลาย เขาไม่รู้ความหมาย จักนอบน้อมทิศ

ทั้งหลาย ลำดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลาย เห็นเขาแล้วจัก
ถามว่า เธอทำอะไร แต่นั้นเขาก็จักกล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าสอนไว้ว่า
เจ้าจงกะทำการนอบน้อมทิศทั้งหลาย ลำดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวก
ทั้งหลาย จักแสดงธรรมแก่เขาว่า บิดาของเธอจักไม่ให้เธอนอบน้อมทิศ
ทั้งหลายเหล่านั้น แต่จักให้เธอนอบน้อมทิศเหล่านี้ เขารู้คุณในพระพุทธ-
ศาสนาแล้วจักทำบุญดังนี้. ลำดับนั้น คฤหบดีให้คนเรียกบุตรมาแล้วกล่าวว่า
นี่แน่ลูก ลูกควรลุกแต่เช้าตรู่ แล้วนอบน้อมทิศทั้งหลายดังนี้ . ธรรมดา
ถ้อยคำของบิดาผู้ที่นอนบนเตียงมรณะย่อมเป็นถ้อยคำอันบุตรพึงระลึกถึง
จนตลอดชีวิต. เพราะฉะนั้น คฤหบดีบุตรนั้น เมื่อระลึกถึงถ้อยคำของบิดา
จึงได้กระทำอย่างนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คฤหบดีบุตรลุกขึ้น
แต่เช้าตรู่ ออกจากกรุงราชคฤห์เป็นต้น.
บทว่า ปุถู ทิสา แปลว่า ทิศมาก ความว่า บัดนี้คฤหบดีบุตร
เมื่อจะแสดงถึงทิศทั้งหลายเหล่านั้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ทิศเบื้องหน้า.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปแล้ว ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังไม่เสด็จเข้าไปก่อน เพราะพระองค์ทรงดำริว่า เราจักเข้าไปแล้ว
เสด็จออกไป แม้เป็นไปอยู่ในระหว่างทางจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ความว่า ไม่ได้ทอด
พระเนตรเห็นเดี๋ยวนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
แม้ในตอนเช้าตรู่ ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น กำลัง
นอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ ทรงดำริว่า วันนี้ เราจักกล่าวสิงคาลกสูตรอันเป็น
วินัยของคฤหัสถ์แก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ถ้อยคำนั้น จักมีผลแก่มหาชน

เราควรไปในที่นั้น ดังนี้. เพราะฉะนั้น พระองค์เสด็จออกแต่เช้าตรู่ เสด็จ
เข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต อนึ่ง เมื่อเสด็จเข้าไป ได้ทอดพระเนตร
เห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร เหมือนอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล. บทว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสกะสิงคาลกคฤหบดีบุตร
ความว่า นัยว่า สิงคาลก
คฤหบดีบุตรนั้นไม่เห็นพระศาสดาแม้ประทับยินอยู่ไม่ไกล ยังนอบน้อมทิศ
ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยพระโอฐดุจ
มหาปทุมกำลังแย้มโดยสัมผัสแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น ได้ตรัสพระวาจานี้ว่า
ดูก่อนคฤหบดีบุตร เธอทำอะไรหนอ ดังนี้ เป็นต้น. บทว่า ข้าแต่
พระองค์ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร
ความ
ว่า นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตร สดับพระดำรัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว คิดว่าได้ยินว่า ทิศที่บิดาของเรากล่าว ควรนอบน้อมทิศ 6 นั้น ไม่ใช่
ทิศนี้ นัยว่า พระอริยสาวกนอบน้อมทิศ 6 อย่างอื่น ช่างเถิด เราจะ
ทูลถามถึงทิศที่พระอริยสาวกพึงนอบน้อมแล้ว จึงจักนอบน้อม ดังนี้ สิง-
คาลกคฤหบดีบุตรนั้นเมื่อจะทูลถามถึงทิศเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กถํ ปน
นี้เป็นบทถาม.
บทว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง
ด้วยกรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กรรมกิเลส
ทั้งหลาย. บทว่า ฐาเนหิ แปลว่า ด้วยเหตุทั้งหลาย. บทว่า อปายมุขานิ
แปลว่า ทางแห่งความฉิบหาย. บทว่า ผู้นั้น คือ พระอริยสาวกผู้เป็น

โสดาบัน. บทว่า จุทฺทสปาปกาปคโต แปลว่า ปราศจากบาปคือความ
ลามก 14 อย่างเหล่านี้ . บทว่า ฉ ทิสา ปฏิจฺฉาที แปลว่า ปกปิดทิศ 6.
บทว่า อุโภโลกวิชยาย ความว่า เพื่อชนะโลกนี้และโลกหน้าทั้งสอง.
บทว่า และโลกนี้อันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ความว่า จริงอยู่
เวรทั้ง 5 ในโลกนี้ ย่อมไม่มี แก่พระอริยสาวกเห็นปานนั้น ด้วยเหตุนั้น
โลกนี้เป็นอันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว คือ ยินดีแล้ว และสำเร็จแล้ว
เวรทั้งหลาย 5 ย่อมไม่มีแม้ในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น โลกหน้าเป็นอัน
พระอริยสาวกยินดีแล้ว. เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกนั้น เบื้องหน้าแต่
ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ด้วยประการดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม่บทไว้โดยย่อ บัดนี้ เมื่อจะยังแม่บทนั้นให้
พิสดารจึงตรัสว่า กรรมกิเลส 4 ที่พระอริยสาวกละได้แล้ว เป็นไฉน
เป็นต้น.
บทว่า กมฺมกิเลโส ความว่า ชื่อว่า กรรมกิเลสเพราะกรรมนั้น
เป็นกิเลส เพราะสัมปยุตด้วยกิเลส. จริงอยู่ คนมีกิเลสเท่านั้นย่อมฆ่าสัตว์
คนไม่มีกิเลสย่อมไม่ฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้น ปาณาติบาตท่านจึงกล่าวว่า เป็น
กรรมกิเลส. แม้ในกรรมกิเลสมีอทินนาทานเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. บทว่า
อถาปรํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคาถาประพันธ์แสดงความนั้น
ต่อไปอีก.
บทว่า ย่อมทำกรรมอันลามก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะ
เมื่อพระองค์ทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำแล้ว ผู้ไม่กระทำย่อมปรากฏ ฉะนั้น
แม้ทรงตั้งแม่บทว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทำกรรมอันลามก เพราะพระองค์

ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทำก่อน จึงตรัสบทนี้ว่า
บุคคลย่อมกระทำกรรมอันลามก. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ
ความว่า ถึงอคติ ด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทำสิ่งไม่ควรทำ.
แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้แล. ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้
เป็นเจ้าของ ด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา เป็นผู้ชอบพอ
กับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา
ดังนี้ ผู้นี้ถึงฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. ผู้ใดกระทำผู้ไม่เป็น
เจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้เป็นผู้มีเวรกับ
เราดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ถึงโทสาคติ
ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน
เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น
เจ้าของ ผู้นี้ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า
ผู้นี้เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทำความฉิบหายแก่เราดังนี้
สลัวทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรม
อันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกิน
เป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วม
นอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้เป็นศัตรู
ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้
ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่บางคนกลัวว่าผู้นี้เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึง
ทำแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้นแม้
เป็นผู้มีอคติ 4 อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลำตับ ชื่อว่าย่อม

ทำกรรมอันลามก. แต่พระอริยสาวก แม้จะถึงสิ้นชีวิต ก็ไม่ถึงอคติมีฉันทา-
คติเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทำกรรม
อันลามกโดยฐานะ 4 เหล่านี้. บทว่า ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ความว่า
แม้เกียรติยศ แม้บริวารยศของผู้ถึงอคตินั้น ย่อมเสื่อม คือ ย่อมเสียหาย.
สุรา 5 ชนิด คือ สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วย
ข้าวสุก สุราใส่ส่าเหล้า สุราประกอบด้วยเธอ ชื่อว่า สุรา ในบทนี้ว่า
ผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทดังนี้. ของดอง
5 ชนิดใด คือ ของดองด้วยดอกไม้ ของดองด้วยผลไม้ ของดองด้วยน้ำหวาน
ของดองด้วยน้ำอ้อย ของดองประกอบด้วยเธอ ชื่อว่า เมรัย. แม้ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่า มัชชะ ด้วยสามารถทำให้เมา. บทว่า ปมาทฏฺฐานํ แปลว่า
เหตุแห่งความประมาท. บทนี้ เป็นชื่อของเจตนา ของผู้ดื่มน้ำเมา. บทว่า
ประกอบเนือง ๆ อธิบายว่า ประกอบเนือง ๆ คือทำบ่อย ซึ่งการดื่ม
น้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. ก็เพราะเมื่อผู้
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมานี้ โภคะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อม
และที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทางเสื่อมแห่ง
โภคะทั้งหลาย. บทว่า วิกาลวิสิขาจริยานุโยโค ความว่า ความเป็นผู้
เที่ยวไปในตรอกอันไม่ใช่เวลา. บทว่า เที่ยวดูมหรสพ คือ ไปดูมหรสพ
ด้วยสามารถการดู การฟ้อนเป็นต้น. บทว่า ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความ
เกียจคร้าน
อธิบายว่า เพราะความเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบด้วย
ความเป็นผู้เกียจคร้านทางกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทของทาง
แห่งความเสื่อม 6 ประการ อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงจำแนกแม่บทเหล่านั้นใน

บัดนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ 6 ประการเหล่านี้แล ดังนี้
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อันตนเห็นเอง คือ ความเป็นอยู่ในโลกนี้
อันตนพึงเห็นเอง. บทว่า ธนชานิ แปลว่า เสื่อมทรัพย์. บทว่า ก่อการ
ทะเลาะ
ความว่า ก่อการทะเลาะด้วยวาจาและการทะเลาะด้วยการใช้มือ
เป็นต้น. บทว่า น้ำเมา เป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย ความว่า น้ำเมา
เป็นเขตแดนแห่งโรคเหล่านั้น มีโรคตาเป็นต้น. บทว่า น้ำเมาเป็นเหตุ
เสียชื่อเสียง
ความว่า เพราะชนดื่มน้ำเมาแล้ว ย่อมประหารแม้มารดา
แม้บิดาได้ ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว แม้อื่นอีกมาก ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควร
ทำ ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลาย ถึงการติเตียนบ้าง ลงโทษบ้าง ตัดอวัยวะมีมือ
และเท้าเป็นต้นบ้าง ถึงความเสียชื่อเสียง ในโลกนี้บ้าง ในโลกหน้าบ้าง.
ด้วยประการฉะนี้ สุรานั้น จึงชื่อว่าเป็นเหตุเสียชื่อเสียงของชนเหล่านั้น.
บทว่า น้ำเมาเป็นเหตุ ไม่รู้จักละอาย ความว่า เพราะน้ำเมาย่อมยัง
ความละอายอันเป็นที่ซึ่งควรซ้อนเร้น ควรปกปิด ให้กำเริบ ให้พินาศ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยังหิริให้กำเริบ ดังนี้. อนึ่ง คนเมาสุรา
เปิดอวัยวะนั้น ๆ แล้วเที่ยวไปได้. ด้วยเหตุนั้น สุรานั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย เพราะทำหิริให้กำเริบ. บทว่า น้ำเมา เป็นเหตุ
ทอนกำลังปัญญา
ความว่า น้ำเมา ย่อมทำความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตนให้อ่อนลงเหมือนปัญญาของพระสาคตเถระฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าน้ำเมาเป็นเหตุทอนกำลังปัญญา. แต่น้ำเมาไม่อาจทำผู้ได้มรรค
ปัญญาให้อ่อนได้. เพราะสุรานั้นย่อมไม่เข้าไปภายในปากของท่านที่บรรลุ
มรรคแล้ว. บทว่า ฉฏฺฐํ ปทํ แปลว่า เหตุที่ 6.

บทว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว อธิบายว่า เพราะบุคคล
เที่ยวไปมิใช่เวลาย่อมเหยียบตอและหนามเป็นต้นบ้าง พบงูบ้าง ยักษ์เป็น
ต้นบ้าง แม้ศัตรูรู้ว่าจะไปยังที่นั้น ๆ ก็แอบจับตัวหรือฆ่า. ด้วยเหตุนี้
จึงชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว. แม้บุตรและภรรยาคิดว่า บิดาของเรา
สามีของเรา เที่ยวในกลางคืน จะกล่าวไปไยถึงตัวเราดังนี้. ด้วยเหตุนี้
แม้บุตรธิดา แม้ภรรยาของเขากระทำธุรกิจนอกบ้านเที่ยวไปในกลางคืน
ก็ย่อมถึงความพินาศ. แม้บุตรภรรยาของเขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองตัว
ไม่รักษาตัว ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ทรัพย์สมบัติ ความว่า พวกโจร
รู้ความที่บริวารชนพร้อมด้วยบุตรภรรยานั้นเที่ยวในกลางคืน จะเข้าไปยัง
เรือนที่ว่างคน นำเอาของที่ต้องการไป. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่
คุ้มครอง ไม่รักษาแม้ทรัพย์สมบัติ. บทว่า เป็นที่ระแวง ความว่า เป็นผู้
ที่ควรระแวงว่า คนนี้จักเป็นผู้กระทำแม้ในกรรมอันลามกที่คนอื่นทำ. เมื่อ
กล่าวคำว่า บุคคล ไปโดยประตูเรือนของผู้ใด ๆ โจรกรรมหรือปรทาริก-
กรรม การข่มขืน ใดอันคนอื่นทำไว้ในที่นั้น กรรมนั้น เป็นอันว่าบุคคล
ผู้นี้กระทำกรรมนั้น แม้ไม่จริง ไม่มีก็ย่อมปรากฏ คือย่อมตั้งอยู่ ในบุคคล
นั้น. บทว่า การเที่ยวกลางคืนอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ความ
ว่า ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์มีประมาณเท่านี้ โทมนัสมีประมาณเท่านี้ ของ
ผู้ที่ถูกเขารังเกียจในบุคคลอื่นนั้นแล. ด้วยประการดังนี้ ผู้เที่ยวกลางคืน
นั้น จึงเป็นผู้ประสบเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก คือ ได้รับความลำบากมาก.
บทว่า ฟ้อนที่ไหน ไปที่นั้น ความว่า การฟ้อน มีรำ และละคร
เป็นต้นมีอยู่ ในที่ไหน แล้วพึงไปในบ้านหรือนิคมที่มีการฟ้อนนั้น. เมื่อ
ผู้ที่เตรียมผ้าของหอมและดอกไม้เป็นต้น ในวันนี้ด้วยคิดว่าพรุ่งนี้เราจักไปดู

การฟ้อนของเขา เป็นอันทิ้งการงานตลอดวัน. ย่อมปรากฏในที่นั้น ตลอด
วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ตามวันบ้าง ด้วยการดูการฟ้อน. เมื่อผู้เที่ยว
กลางคืน แม้ได้การถึงพร้อมด้วยฝนเป็นต้น ก็ไม่ทำการหว่าน เมื่อถึง
กาลหว่านเป็นต้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด. เมื่อเรือนไม่มีคน
เฝ้าพวกโจรรู้ความที่เจ้าของบ้านไปข้างนอก ย่อมลักของที่ต้องการไป. ด้วย
เหตุนั้น โภคะแม้เกิดแก่เขาก็ย่อมพินาศ. แม้ในบทว่า ขับร้องมีที่ไหนไป
ในที่นั้น เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. การกระทำต่าง ๆ ของชนเหล่านั้นท่าน
กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.
บทว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ความว่า ผู้ชนะย่อมถือเอาซึ่งผ้าสาฎก
หรือผ้าโพกของผู้อื่น ในท่ามกลางชุมชนด้วยคิดว่า เราชนะแล้ว ดังนี้ ผู้
ชนะย่อมผูกเวร
ในบุคคลนั้นว่า เขาดูหมิ่นเราในท่ามกลางชุมชน ช่างเถิด
เราจักให้บทเรียนเขาดังนี้. เมื่อชนะอย่างนี้ย่อมประสบเวร บทว่า ผู้แพ้
ความว่า ผู้แพ้ย่อมเศร้าโศกถึงผ้าโพก ผ้าสาฎกหรือทรัพย์สินมีเงินและทอง
เป็นต้นอย่างอื่นของเขาที่ผู้อื่นได้ไป เขาย่อมเศร้าโศก เพราะทรัพย์นั้น
เป็นเหตุว่า ทรัพย์นั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ ทรัพย์นั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ
ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ บทว่า คำพูดของนักการ
พนันที่ไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ความว่า เมื่อเขาถูกถามเพราะเป็น
พยานในที่วินิจฉัย ด้วยคำฟังไม่ขึ้น. ชนทั้งหลายจะพากันพูดว่า ผู้นี้เป็น
นักเลงสะกา เล่นการพนัน พวกท่านอย่าเชื่อคำพูดของเขา. บทว่า ถูก
มิตรอมาตย์ดูหมิ่น ความว่า จริงอยู่ พวกมิตรอมาตย์จะพูดกะเขาอย่างนี้ว่า
สหาย แม้ท่านก็เป็นบุตรของผู้มีตระกูล เล่นการพนัน เป็นผู้ตัด เป็นผู้

ทำลาย เที่ยวไปนี้ ไม่สมควร แก่ชาติและโคตรของท่าน ตั้งแต่นี้ไปท่าน
ไม่พึงทำอย่างนี้. นักการพนันนั้นแม้ถูกเขากล่าวอย่างนี้ก็ไม่เชื่อเขา แต่
นั้นพวกมิตรและสหายเหล่านั้นไม่ยืน ไม่นั่งร่วมกับเขา. แม้พวกเขาถูก
ถามเป็นพยานก็ไม่ยอมพูด เพราะเหตุนักการพนันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้
นักการพนันจึงเป็นผู้ถูกมิตรและสหายดูหมิ่น. บทว่า อาวาหะและวิวาหะ
ความว่า ผู้ประสงค์จะนำหญิงสาวไปจากเรือนของเขา ชื่อว่า อาวาหะ ผู้
ประสงค์จะให้หญิงสาวอยู่ในเรือนของเขาชื่อว่า วิวาหะ. บทว่า อปฺปฏฺฐิโต
โหติ
แปลว่า ไม่มีใครปรารถนา บทว่า นาลํ ทารภรณาย ความว่า นัก
การพนัน ไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยาได้. ความว่า แม้ให้หญิงสาวในเรือน
ของเขา แม้มาจากเรือนของเขา พวกเราก็จักพึงเลี้ยงดูได้.
บทว่า เย ธุตฺตา นักเลงการพนัน. บทว่า โสณฺฑา ความว่า
นำให้เป็นนักเลงหญิง นำให้เป็นนักเลงลักข้าว นำให้เป็นนักเลงเหล้า
นำให้เป็นนักเลงลักเผือกมัน. บทว่า ปิปาสา แปลว่า นักเลงดื่ม. บทว่า
เนกติกา คือลวงด้วยของปลอม. บทว่า วญฺจนิกา คือ ลวงซึ่งหน้า บทว่า
นำให้เป็นนักเลงหัวไม้ ความว่า เป็นผู้ทำการงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่อาคาร
เดียวกัน เป็นต้น. บทว่า พวกนั้นเป็นมิตรของเขา คือ เขาไม่ยินดีกับ
คนอื่นที่เป็นคนดี เข้าไปหามิตรลามกเหล่านั้นอย่างเดียว เหมือนสุกรที่
เขาประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วให้นอนบนที่นอนอย่างดี
ก็ยังเข้าไปสู่หลุมคูถฉะนั้น เพราะฉะนั้น ผู้คบคนชั่วเป็นมิตรย่อมเข้าถึง
ความฉิบหายเป็นอันมากทั้งในภพนี้ และภพหน้า
บทว่า อ้างว่า เย็นนักแล้วไม่ทำการงาน ความว่า พวกมนุษย์

ลุกขึ้น แต่เช้าตรู่พูดว่า พ่อมหาจำเริญ มาไปทำการงานกันเถิด คน
เกียจคร้านจะพูดว่า ยังหนาวเหลือเกิน กระดูกจะแตก พวกท่านไปกันเถิด
เราจักไปที่หลัง แล้วนั่งผิงไฟ. มนุษย์เหล่านั้นไปทำการงานกัน. การงาน
ของคนเกียจคร้านย่อมเสื่อม. แม้ในบททั้งหลายว่า ร้อนเหลือเกินก็มี
นัยนี้แล.
บทว่า ชื่อว่าเพื่อดื่มก็มี ความว่า บางคนเป็นสหายกันใน
โรงเหล้าอันเป็นที่ดื่มนั่นแหละ. ปาฐะว่า ปนฺนสขา ดังนี้ก็มี. ความ
อย่างเดียวกัน.
บทว่า เพื่อนกล่าวแต่ปากว่า เพื่อน ๆ ก็มี ความว่า บางคน
พูดว่า เพื่อน เพื่อน เป็นเพื่อต่อหน้าเท่านั้น ลับหลังเป็นเช่นศัตรู
ย่อมแสวงหาช่องทางอย่างเดียว. บทว่า เมื่อประโยชน์ทั้งหลายเกิดขึ้น
ความว่า เมื่อกิจเห็นปานนั้นเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า เวรปฺปสงฺโค แปลว่า
มากด้วยเวร. บทว่า อนตฺถตา แปลว่าทำความฉิบหาย. บทว่า ความเป็นผู้
ตระหนี่เหนียวแน่น
ความว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น คือ ความ
เป็นผู้ตระหนี่จัด. บทว่า เขาจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้ำ
ฉะนั้น ความว่า เขาจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินในกลางคืนเป็นปกติ.
เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน คือ ไม่ลุกขึ้นในกลางคืนเป็นปกติ.
บทว่า มักอ้างว่าเย็นเสียแล้ว คือ เขากล่าวอย่างนี้ว่า เวลานี้เย็นนักแล้ว
ไม่ทำการงาน บทว่า สละการงาน คือ พูดอย่างนี้แล้ว ไม่ทำการงาน
บทว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย ความว่า ประโยชน์
ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยบุคคลเห็นปานนี้ คือ ไม่ตั้งอยู่ในบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า ติณฺณา ภิยฺโย แปลว่า ยิ่งกว่าหญ้า. บทว่า เขาย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุข ความว่า บุรุษนั้น ย่อมไม่ละความสุข ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ความสุขทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความนี้ ด้วยกถามรรคนี้.
อันผู้ครองเรือน ไม่ควรทำกรรมนี้ ชื่อความเจริญย่อมไม่มีแก่ผู้กระทำ
ผู้กระทำย่อมได้รับการติเตียนอย่างเดียวทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงผู้ไม่ใช่มิตรเป็นมิตร
เทียม เป็นคนพาลว่า ผู้ใดกระทำอย่างนี้ ความฉิบหายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น
ก็หรือภัยอย่างอื่น ๆ อันตรายใด ๆ อุปสรรคใด ๆ ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยคนพาล เพราะฉะนั้น ไม่ควรคบคนพาลเห็นปานนั้นดังนี้ จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนไม่ใช่มิตรมี จำพวกเหล่านี้
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า คนปอกลอก ความว่า ตนเองมีมือเปล่า
มาแล้ว นำเอาของอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปโดยส่วนเดียว. บทว่า ดีแต่พูด
ความว่า เป็นดุจผู้ให้กระทำ เพียงคำพูดเท่านั้น. บทว่า คนหัวประจบ
คือ ย่อมพูดคล้อยตาม. บทว่า คนชักชวนในทางฉิบหาย คือ เป็นสหาย
ในทางเสื่อม แห่งโภคะทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคนที่
ไม่ใช่มิตร . จำพวกอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงจำแนกเหตุอย่างหนึ่ง ๆ ในคน
ที่ไม่ใช่มิตรนั้น ด้วยเหตุ 4 อย่าง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ด้วยฐานะ 4 อย่าง ดังนี้.
ในบททั้งหลายนั้น บทว่า เป็นคนปอกลอก ความว่า เป็นผู้นำ
ไปโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความว่า เป็นผู้มีมือเปล่ามาสู่เรือนของสหายแล้ว
พูดถึงคุณของผ้าสาฎกที่ตนนุ่งเป็นต้น. คนปอกลอกพูดว่า ดูก่อนสหาย
คนนั้นย่อมกล่าวถึงคุณของผ้าผืนนี้กะท่านเหลือเกินดังนี้แล้ว นุ่งผ้าผืนอื่น

ให้ผืนนั้นไป. บทว่า เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก คือให้ของอย่างใด
อย่างหนึ่งแต่น้อย แล้วปรารถนาของมากจากเขา. บทว่า เมื่อมีภัยย่อม
ทำกิจ
ความว่า เมื่อภัยเกิดขึ้นแก่ตน ย่อมทำกิจนั้น ๆ เหมือนเป็นทาส
ของเขา คนปอกลอกนี้ ไม่ทำในกาลทั้งปวง เมื่อภัยเกิดขึ้นจึงทำ ไม่ทำด้วย
ความรัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ใช่มิตร. บทว่า คบเพื่อนเพราะ
เห็นแก่ประโยชน์
ความว่า ไม่คบด้วยสามารถ เป็นผู้คุ้นเคยฉันมิตร
ที่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวจึงคบ. บทว่า อ้างเอาของที่ล่วงแล้วมา
ปราศรัย
ความว่า คนดีแต่พูด ย่อมสงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างนี้ว่า
เมื่อสหายมา เมื่อวาระนี้ ท่านไม่มา วาระนี้ ข้าวกล้าของพวกเราสำเร็จ
เรียบร้อย พวกเราตั้งข้าวสาลี ข้าวเหนียวและพืชเป็นต้นเป็นอันมาก แล้ว
นั่งดูหนทาง แต่วันนี้สิ้นไปทั้งหมดแล้ว ดังนี้. บทว่า อ้างสิ่งที่ยังไม่ถึงมา
ปราศรัย
ความว่า คนดีแต่พูดย่อมสงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างนี้ว่า
ในวันนี้ ข้าวกล้าของเราจักเป็นที่ปลื้มใจ เมื่อเราทำการสงเคราะห์ด้วย
ข้าวกล้ามีข้าวสาลีเป็นต้น เป็นอันมีผลเต็มที่แล้ว เราจักสามารถเพื่อทำการ
สงเคราะห์แก่พวกท่านได้ดังนี้ บทว่าคนดีแต่พูดสงเคราะห์ด้วยสิ่งหา
ประโยชน์มิได้
ความว่า คนดีแต่พูด นั่งบนคอช้างหรือบนหลังม้า ครั้น
เห็นสหายแล้ว กล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย เพื่อนจงมานั่ง ณ ที่นี้เถิด คนดีแต่พูด
นุ่งผ้าสาฏกผืนที่ชอบ แล้วกล่าวว่า ผ้าผืนนี้สมควรแก่สหายของเราจริงหนอ
แต่เราไม่มีผ้าผืนอื่น. อย่างนี้ชื่อว่าสงเคราะห์ด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์. บทว่า
เมื่อกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง ออกปากพึ่งไม่ได้ ความว่า เมื่อ
มีผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องการเกวียน คนดีแต่พูดกล่าวคำเป็นต้นว่า เสียดาย
จริง ล้อเกวียน เพลาเกวียนหักเสียแล้ว. บทว่า คนหัวประจบ ตามใจ

เพื่อนให้ทำความชั่ว ความว่า เมื่อเพื่อนพูดว่า พวกเราจะทำปาณาติบาต
เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง คนหัวประจบตามใจเพื่อน ด้วยคำว่า ดีแล้ว
เพื่อน ทำกันเถิด. แม้ในการทำดี ก็มีนัยนี้แล. บทว่า เป็นสหาย ความว่า
เมื่อเพื่อนพูดว่า ชนทั้งหลายดื่มเหล้ากัน ณ ที่โน้น ท่านจงมาเราจะไป
ในที่นั้น คนชักชวนในทางฉิบหายรับว่าดีแล้ว แล้วก็ไป. ในบททั้งปวง
ก็มีนัยนี้. บทว่า บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้เเล้ว ความว่า รู้อย่างนี้ว่า พวกที่
เป็นมิตรเทียมดังนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงมิตรชั่ว ไม่ควรคบ
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงมิตรดี ควรคบในบัดนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรเเท้ 4 จำพวกเหล่านี้ อีก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุหทา แปลว่า เพื่อนมีใจดี. บทว่า
ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ความว่า มิตรมีอุปการะเห็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
แล้วนอนที่กลางบ้าน ที่ประตูบ้าน ที่หนทาง คิดว่าเมื่อเพื่อนนอนอย่างนี้
ใคร ๆ พึงลักแม้ผ้านุ่งและผ้าห่มไปดังนี้ จึงนั่งใกล้เพื่อน เมื่อเพื่อนตื่นพา
ไปส่ง. บทว่า รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ความว่า มิตรมี
อุปการะคิดว่า เพื่อนไปข้างนอก หรือดื่มเหล้าเมา เรือนไม่มีคนเฝ้า ใคร ๆ
จะพึงลักของอย่างใดอย่างหนึ่งไปดังนี้ จึงเข้าไปยังเรือนป้องกันทรัพย์ของ
เพื่อนนั้น. บทว่า เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ความว่า เมื่อภัยอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะ กล่าวว่าอย่ากลัว เมื่อสหายเช่นเรายังอยู่
ท่านจะกลัวอะไร แล้วขจัดภัยนั้น ออกไปเป็นที่หนึ่งพำนักได้. บทว่า เพิ่ม
ทรัพย์ให้สองเท่า
ความว่า เมื่อกิจที่ควรทำเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะเห็น
สหายมาหาตน แล้วถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงมา. มีการงานในราช

ตระกูล. ท่านควรจะได้อะไร. ขอ 1 กหาปณะ. ธรรมดาการงานในเมือง
จะไม่สำเร็จด้วยกหาปณะเดียว ท่านจงรับไป 2 กหาปณะ. เขาให้ 2 เท่า
ตามที่พูด. บทว่า บอกความลับแก่เพื่อน ความว่า ไม่บอกเรื่องอันควร
ปกปิดความลับของตนแก่คนอื่นแล้ว บอกแก่เพื่อนเท่านั้น. บทว่า ปิด
ความลับของเพื่อน
ความว่า. มิตรมีอุปการะย่อมรักษาความลับที่เพื่อน
กล่าวโดยที่คนอื่นไม่รู้. บทว่า ไม่ละทิ้งในยามมีอันตราย ความว่า เมื่อ
ภัยเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะย่อมไม่ทอดทิ้ง. บทว่า แม้ชีวิตก็สละเพื่อ
ประโยชน์แก่เพื่อนได้
ความว่า แม้ชีวิตของตนก็เป็นอันมิตรร่วมสุขร่วม
ทุกข์สละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ทีเดียว มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ไม่คำนึงถึง
ชีวิตของตน ทำการงานให้แก่เพื่อนอย่างเดียว. บทว่า ห้ามจากความชั่ว
ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมห้ามว่า เมื่อเราเห็น ๆ อยู่ท่านจะไม่ได้
ทำอย่างนี้ ท่านอย่าทำ เวรทั้ง 5 อกุศลกรรมบถ 10 เลย. บทว่า ให้ตั้ง
อยู่ในความดี ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมให้ประกอบความดีอย่างนี้
ว่า ท่านจงเป็นไปในกรรมดี ในสรณะ 3 ในศีล 5 ในกุศลกรรมบท 10
ท่านจงให้ทาน จงทำบุญ จงฟังธรรมดังนี้. บทว่า ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
คือ ให้ฟังสิ่งที่ละเอียด ทำให้ฉลาด ซึ่งยังไม่เคยฟัง. บทว่า บอกทาง
สวรรค์ให้
ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมบอกทางสวรรค์ อย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายกระทำกรรมนี้ ย่อมเกิดในสวรรค์.
บทว่า มิตรมีความรักใคร่ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน
ความว่า มิตรมีความรักใคร่ เห็นหรือได้ยิน ความสูญ เสียเห็นปานนั้นของ
บุตรภรรยาหรือของบริวารชน เพราะความเสื่อม คือเพราะความไม่เจริญ
ของเพื่อน ย่อมไม่ยินดีคือไม่ชอบใจ. บทว่า ด้วยความเจริญ ความ

มิตรมีความรักใคร่เห็นหรือได้ยิน ความสมบูรณ์ของข้าวกล้าเป็นต้น หรือ
การได้ความเป็นใหญ่ เพราะความเจริญของเพื่อนเห็นปานนั้น ย่อมยินดี
ชอบใจ. บทว่า ห้ามคนที่ติเตียนเพื่อน ความว่า เมื่อคนพูดว่า คนโน้น
รูปชั่ว ไม่น่าเลื่อมใส มีชาติทราม หรือเป็นคนทุศีล ดังนี้ มิตรมีความ
รักใคร่ ย่อมห้ามผู้อื่นที่กล่าวติเตียนเพื่อนของตนด้วยคำทั้งหลายเป็นต้น
ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ซิ เขามีรูปงามน่าเลื่อมใส มีชาติดีและถึงพร้อม
ด้วยศีล. บทว่า สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ความว่า เมื่อคนพูดว่า
คนชื่อโน้นมีรูปงามน่าเลื่อมใส มีชาติดี ถึงพร้อมด้วยศีล มิตรมีความรักใคร่
ย่อมสรรเสริญคนอื่นที่พูดสรรเสริญเพื่อนของตนอย่างนี้ว่า โอ ท่านพูดดี
ท่านพูดถ้อยคำอย่างนี้. ดีแล้ว ชายผู้นี้มีรูปงาม น่าเลื่อมใส มีชาติดี ถึง
พร้อมแล้วด้วยศีล.
บทว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดัง
ไฟ
ความว่า ย่อมรุ่งเรืองดุจไฟส่องแสงบนยอดเขาในกลางคืน. บทว่า
เมื่อบุคคลสะสมโภคะอยู่ ความว่า เมื่อบุคคลไม่เบียดเบียนตนบ้าง ผู้อื่น
บ้าง รวบรวมโภคะโดยธรรม โดยเสมอ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า เหมือน
แมลงผึ้งทำรัง
ความว่า กระทำโภคะให้เป็นกองใหญ่โดยลำดับ เหมือน
แมลงผึ้งไม่ทำลายสีและกลิ่นของดอกไม้ นำเกสรด้วยจะงอยปากบ้าง ด้วย
ปีกทั้งสองบ้างแล้วทำรวงผึ้ง ประมาณเท่าล้อโดยลำดับ. บทว่า โภคะ
ทั้งหลายย่อมถึงความเพิ่มพูน
ความว่า โภคะทั้งหลายของเขาย่อมถึง
ความเพิ่มพูน. อย่างไร. เหมือนจอมปลวกอันตัวปลวกทั้งหลายก่อขึ้นโดย
ลำดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดุจจอมปลวก อันตัวปลวกก่อขึ้น.
อธิบายว่าโภคะทั้งหลายย่อมถึงความเพิ่มพูนเหมือนจอมปลวกอันตัวปลวก

ก่อขึ้นฉะนั้น. บทว่า สมาหริตฺวา ความว่า รวบรวมแล้ว. บทว่า ผู้สามารถ
ความว่า คฤหัสถ์เป็นผู้มีสภาพเหมาะสม หรือเป็นผู้สามารถหรือเป็นผู้ใคร่
เพื่อดำรงการครองเรือน. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประทาน
พระโอวาทโดยประการที่ผู้ครองเรือนพึงดำรงอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ผู้
ครองเรือนพึงแบ่งโภคะออกเป็น 4 ส่วนดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า
เขานั่นแหละย่อมผูกมิตรไว้ได้ ความว่า ผู้ครองเรือนนั้น เมื่อแบ่งโภคะ
อย่างนี้ชื่อว่า ย่อมผูกมิตรไว้ได้ คือตั้งไว้ซึ่งความไม่แตกกัน. ผู้ที่มีโภคะ
ย่อมสามารถประสานมิตรไว้ได้ คนนอกนั้นไม่สามารถ. บทว่า พึงบริโภค
โภคะโดยส่วนเดียว
ความว่า พึงบริโภคโภคะด้วยหนึ่งส่วน. บทว่า
พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน ความว่า พึงประกอบการงานมีกิจกรรม
และพาณิชยกรรมเป็นต้น ด้วยสองส่วน. บทว่า พึงเก็บ คือ พึงเก็บ
ส่วนที่สี่เอาไว้. บทว่า จักมีในยามอันตราย ความว่า เพราะการงานนั้น
ย่อมไม่เป็นไปเช่นกับวันหนึ่งตลอดกาลของตระกูลทั้งหลาย. บางครั้งแม้
อันตรายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจราชภัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น โภคะจักมี
ในยามอันตรายทั้งหลายเกิดขึ้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ผู้ครองเรือนพึงเก็บส่วนหนึ่งไว้ดังนี้. ก็ในส่วนทั้งหลาย 4
เหล่านี้ พึงเก็บส่วนไหน ๆ ไว้บำเพ็ญกุศล. ถือเอาส่วนที่ท่านกล่าว ใน
บทว่า โภเค ภุญฺเชยฺย. ควรถือเอาจากส่วนนั้น บริจาคทานแก่ภิกษุ
ทั้งหลายบ้าง แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นบ้าง ควรให้รางวัลแก่
ช่างหูกและกัลบกเป็นต้นบ้าง.
ด้วยกถามรรค เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพระ
โอวาทเพื่อเว้นธรรมที่ควรเว้นและเพื่อเสพธรรมที่ควรเสพว่า ดูก่อน
คฤหบดีบุตร อริยสาวก ละอกุศลด้วยเหตุทั้งหลาย 4 เว้นทางเสื่อมแห่ง

โภคะทั้งหลายด้วยเหตุทั้งหลาย 6 เสพมิตร 16 จำพวก ดำรงการครองเรือน
กระทำการเลี้ยงดูภรรยา ย่อมเป็นอยู่ด้วยอาชีพอันเป็นธรรม และย่อม
รุ่งเรืองดุจกองไฟในระหว่างเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงทิศ 6 ที่ควรนอบน้อม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง 6 อย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พระอริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง 6
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่อย่างที่ภัยอันมาจากทิศทั้ง 6 ย่อมไม่มา
ถึง เป็นแดนเกษมปราศจากภัย จึงตรัสว่า อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง 6
ดังนี้. ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
ดังนี้ คือ พึงทราบว่ามารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้มีอุปการะ
ก่อน อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา บุตรภรรยา
เป็นทิศเบื้องหลัง ด้วยสามารถติดตามมาข้างหลัง มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง
ซ้าย เพราะแม้กุลบุตรนั้นอาศัยมิตรและสหาย จึงข้ามพ้นทุกข์พิเศษนั้น ๆ
ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ ด้วยสามารถตั้งอยู่ ณ แทบเท้า สมณ-
พราหมณ์เป็นทิศเบื้องนั้น เพราะความเป็นผู้ตั้งอยู่ในเบื้องบนด้วยคุณธรรม
ทั้งหลาย.
บทว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ความว่า เราอัน
มารดาบิดา ให้ดื่มน้ำนมยังมือและเท้าให้เจริญ ดูดน้ำมูกให้ ให้อาบน้ำ
ตกแต่งให้ เลี้ยงดูและประคับประคอง เราจักเลี้ยงมารดาบิดาเหล่านั้น ผู้แก่
เฒ่าด้วยการล้างเท้า อาบน้ำให้ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น. บทว่า เรา
จักทำกิจของมารดาบิดา
ความว่า เราจักเว้นการงานของตนไปทำกิจที่
เกิดขึ้นในราชสำนักเป็นต้น แก่มารดาบิดา. บทว่า เราจักดำรงวงศ์ตระกูล

ความว่า บุตรไม่ทำให้นา วัตถุ เงิน และทองเป็นต้นอันเป็นของมารดาบิดาให้
พินาศ แม้รักษาอยู่ ก็ชื่อว่าดำรงวงศ์ตระกูล บุตรที่ให้มารดาบิดาเสื่อม
จากวงศ์ที่ประกอบด้วยอธรรม แม้ให้ตั้งอยู่ในวงศ์ที่ประกอบด้วยธรรม ไม่
เข้าไปตัดสลากภัตรเป็นต้น อันมาถึงแล้วโดยวงศ์ตระกูล แม้ให้เป็นไปอยู่
ก็ชื่อว่าดำรงวงศ์ตระกูล. ท่านกล่าวหมายถึงบทนี้จึงกล่าวว่า เราจักดำรงวงศ์
ตระกูล ดังนี้. บทว่า เราจักปฏิบัติตนให้สมควรเป็นผู้รับทรัพย์มรดก
ความว่า มารดาบิดาไปถึงโรงศาล กระทำทารกผู้ไม่ประพฤติในโอวาท
ของตน ผู้ปฏิบัติผิด มิให้ถือว่าเป็นบุตร บุตรเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่สมควร
รับมรดก แต่มารดาบิดาย่อมกระทำทารกผู้ประพฤติในโอวาท ให้เป็นเจ้า
ขอทรัพย์อันมีอยู่ในตระกูล ท่านกล่าวว่า เราจักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควร
รับมรดกด้วยประสงค์ว่าเราจักประพฤติอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า เมื่อท่าน
ล่วงลับไปแล้วจักทำบุญอุทิศให้ท่าน
ความว่า เราจักทำทานแผ่ส่วน
บุญให้แก่ท่านเหล่านั้น แล้วจักเพิ่มทานอุทิศให้ตั้งแต่วันที่สาม.
บทว่า มารดาบิดา ห้ามบุตรจากความชั่ว ความว่า มารดาบิดา
กล่าวถึงโทษ อันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้าของปาณาติบาตเป็นต้น
แล้วห้ามว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าทำกรรมเห็นปานนั้นเลย ดังนี้ติเตียนบุตร
ที่ทำแล้ว. บทว่า ให้ตั้งอยู่ในความดี ความว่า มารดาบิดาแม้ให้สินจ้าง
เหมือนอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ยังให้บุตรตั้งอยู่ในการสมาทานศีลเป็นต้น.
บทว่า ให้เรียนศิลปะ ความว่า มารดาบิดารู้ความที่บุตรตั้งอยู่ในโอวาท
ของตนแล้ว ยังบุตรให้ศึกษาศิลปะมีการคำนวณชั้นยอดเป็นต้น อันไปตาม
วงศ์ตระกูล. บทว่า หาภรรยาที่สมควรให้ คือ สมควรด้วยตระกูล ศีล
และรูปเป็นต้น. บทว่า มอบทรัพย์ให้ในสมัย ความว่าให้ทรัพย์ในสมัย.

ในบทนั้น สมัย 2 อย่าง คือ นิจสมัย 1 กาลสมัย 1. มารดาบิดาให้ด้วย
คำว่า เจ้าจงกระวีกระวาดถือเอาสิ่งที่ควรถือเอานี้ นี้จงเป็นรายจ่าย ของเจ้า
เจ้าจงทำกุศลด้วยรายจ่ายนี้ ดังนี้ชื่อว่าให้ในนิจสมัย ให้เป็นนิจ. มารดาบิดา
ย่อมให้ในสมัยตัดจุกแต่งงานเป็นต้น ชื่อว่า ให้ในกาลสมัย. อีกอย่างหนึ่ง
มารดาบิดาแม้ให้ด้วยคำว่า เจ้าจงทำกุศลด้วยทรัพย์นี้แก่บุตรผู้นอนบนเตียง
มรณะในครั้งสุดท้าย ก็ขอว่าให้ในสมัย.
บทว่า ทิศเบื้องหน้า นั้น อันบุตรปกปิดแล้ว ความว่า ทิศ
เบื้องหน้าอันบุตรปกปิดแล้ว โดยที่ภัยพึงมาจากทิศเบื้องหน้า ย่อมไม่มาถึง.
ก็ถ้าบุตรทั้งหลายพึงเป็นผู้ปฏิบัติผิด มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติชอบด้วยการ
เลี้ยงดูเป็นต้น ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ทารกเหล่านั้น เป็นผู้ไม่สมควรแก่
มารดาบิดา เพราะฉะนั้น ภัยนั้นพึงมาถึง. บุตรทั้งหลาย เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติผิด มารดาบิดาก็ไม่สมควรแก่บุตรทั้งหลาย ดังนั้น
ภัยนี้พึงมาถึง. เมื่อทั้งสองปฏิบัติผิด ก็มีภัยทั้งสองอย่าง. เมื่อทั้งสองปฏิบัติ
ชอบ ก็ไม่มีภัยทั้งหมด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิศเบื้องหน้านั้น
อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยดังนี้. ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกะสิงคาลกะว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร บิดา
ของเธอไม่ได้ให้เธอนอบน้อมทิศเบื้องหน้าที่โลกสมมติกัน แต่บิดาของเธอ
กระทำมารดาบิดาให้เป็นเช่นกับทิศเบื้องหน้าแล้วให้เธอนอบน้อม บิดาของ
เธอกล่าวถึงทิศเบื้องหน้าอย่างนี้ไม่ใช่อย่างอื่น.
บทว่า ด้วยการลุกขึ้น คือด้วยลุกขึ้นจากที่นั่ง. จริงอยู่ ศิษย์เห็น
อาจารย์มาแต่ไกล ลุกจากที่นั่งทำการต้อนรับ รับสิ่งของจากมือ ปูอาสนะ
ให้อาจารย์นั่งแล้ว พึงทำการพัด ล้างเท้า นวดเท้า เป็นต้น นั้นท่าน

กล่าวหมายถึงบทว่า ด้วยการลุกขึ้นดังนี้. บทว่า ด้วยการรับใช้ ความว่า
ด้วยเข้าไปรับใช้วันละ 3 ครั้ง. แต่ที่แน่ ๆ ก็ควรไปในกาลเรียนศิลปะ.
บทว่า ด้วยการเชื่อฟัง ความว่า ก็ศิษย์เมื่อไม่เชื่อฟัง ย่อมไม่บรรลุคุณ
วิเศษ. บทว่า ด้วยการปรนนิบัติ คือ ด้วยกาวปรนนิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ
ไม่เหลือบ่ากว่าแรง. จริงอยู่ศิษย์ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ให้น้ำบ้วนปาก
แปรงสีฟัน แม้ในเวลาอาหารก็ถือเอาน้ำดื่มไปให้ แล้วทำการรับใช้ เสร็จ
แล้วไหว้ ควรกลับได้ ควรชักผ้าที่มัวหมอง ควรตั้งน้ำอาบในตอนเย็น ควร
อุปฐากในเวลาที่ท่านไม่สบายแม้บรรพชิตก็ควรทำอันเตวาสิกวัตรทุกอย่าง.
นี้ท่านหมายถึงบทว่า ด้วยการปรนนิบัติ. บทว่า ด้วยการเรียนศิลปะ
โดยเคารพ ความว่า การเรียนนิดหน่อยแล้วท่องหลาย ๆ ครั้งแม้บทเดียว
ก็ควรเรียนให้รู้จริงชื่อว่า เรียนด้วยความเคารพ.
บทว่า แนะนำดี ความว่า อาจารย์ทั้งหลายย่อมให้ศิษย์ศึกษา คือ
แนะนำมารยาทนี้ว่า เธอควรนั่งอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้ ควรเคี้ยวอย่างนี้
ควรบริโภคอย่างนี้ ควรเว้นมิตรชั่ว ควรคบมิตรดีดังนี้. บทว่า ให้เรียนดี
ความว่า อาจารย์ทั้งหลายชำระอรรถและพยัญชนะชี้แจงประโยคแล้ว ให้
ศิษย์เรียนโดยอาการที่ศิษย์จะเรียนได้ดี. บทว่า ยกย่องให้ปรากฏใน
เพื่อนฝูง
ความว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวถึงคุณของศิษย์อย่างนี้ว่า ศิษย์
ของเราคนนี้ ฉลาดเป็นพหูสูตร เท่า ๆ กับเรา พวกท่านพึงยึดเหนี่ยวศิษย์นี้
ไว้แล้ว ให้ศิษย์ปรากฏในเพื่อนฝูงทั้งหลาย. บทว่า ทำการป้องกันในทิศ
ทั้งหลาย
ความว่า อาจารย์ย่อมทำการป้องกันศิษย์ในทิศทั้งปวงด้วยให้
ศึกษาศิลปะ. เพราะว่า ลาภสักการะย่อมเกิดแก่ผู้เรียนศิลปะในทิศที่ไป
แสดงศิลปะ ลาภสักการะนั้นเป็นอันชื่อว่า อาจารย์กระทำแล้ว. มหาชน

แม้เมื่อจะกล่าวถึงคุณของศิษย์นั้น ย่อมกล่าวถึงคุณของอาจารย์ก่อนโดยแท้
ว่า ศิษย์ของท่านนี้เป็นศิษย์ที่ล้างเท้าอาจารย์อยู่แล้วดังนี้. ลาภเกิดขึ้นแก่
ศิษย์นั้นแม้ประมาณถึงพรหมโลก ก็เป็นของอาจารย์นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง
โจรทั้งหลายในดง ย่อมไม่เห็น อมนุษย์ก็ดี งูเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่เบียดเบียน
ศิษย์คนใด ผู้อยากได้วิชาเดินไป อาจารย์แม้ให้ศิษย์คนนั้นศึกษาก็ชื่อว่า
ย่อมทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย. อาจารย์ทั้งหลายแม้ยกย่องศิษย์อย่างนี้
ว่า ศิษย์ของเราอยู่ในทิศนี้ ไม่มีต่างกันในศิลปะนี้ของศิษย์และของเราพวก
ท่านจงไปถามศิษย์นั้นเถิด แก่มนุษย์ผู้เกิดความสงสัยจากทิศที่ศิษย์นั้นไป
แล้วมาหาตน ก็ชื่อว่าย่อมทำการป้องกันเพราะลาภสักการะเกิดขึ้นแก่ศิษย์.
ในที่นั้น อธิบายว่า ย่อมทำให้เป็นที่พึ่ง. บทที่เหลือในเรื่องนี้พึงประกอบ
โดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบความในวาระทิศที่ 3. บทว่า ด้วยยกย่อง ความว่า ด้วย
กล่าวถ้อยคำยกย่องอย่างนี้ว่า แม่เทพ แม่ดิศ ดังนี้. บทว่า ด้วยไม่ดูหมิ่น
ความว่า ด้วยไม่กล่าวดูถูก ดูหมิ่นเหมือนโบยเบียดเบียนแล้วพูดกะทาสและ
กรรมกรเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ความว่า สามี
ละเลยภรรยาแล้ว บำเรอกับหญิงอื่น ชื่อว่าประพฤตินอกใจภรรยา ด้วยไม่
ทำอย่างนั้น. บทว่า ด้วยสละความเป็นใหญ่ให้ มอบความเป็นใหญ่ให้
ความว่า จริงอยู่ หญิงทั้งหลายได้อาภรณ์แม้เช่นเครื่องประดับมหาลดา
เมื่อไม่ได้จัดอาหารย่อมโกรธ เมื่อสามีวางทัพพีในมือแล้วกล่าวว่า แม่จง
ทำตามชอบใจของแม่เถิด ดังนี้ แล้วมอบครัวให้ชื่อว่ามอบความเป็นใหญ่
ทั้งหมดให้ อธิบายว่า ด้วยทำอย่างนั้น. บทว่า ด้วยมอบเครื่องประดับให้

ความว่า ด้วยมอบเครื่องประดับตามสมควรแก่สมบัติของตน.
บทว่า ภรรยาจัดการงานดี ความว่า ภรรยาไม่ละเลยเวลาต้มข้าวต้ม
และหุงข้าวสวยเป็นต้น แล้วจัดการงานให้ดี ด้วยการทำความดีแก่สามีนั้น ๆ.
บทว่า สงเคราะห์บริชน ความว่า สงเคราะห์บริชนด้วยความนับถือเป็นต้น
และด้วยการส่งข่าวเป็นต้น. ชนผู้เป็นญาติของสามีและของตนชื่อบริชน
ในที่นี้. บทว่า ไม่ประพฤตินอกใจสามี ความว่า ไม่ทิ้งขว้างสามีแล้ว
ปรารถนาชายอื่นแม้ด้วยใจ. บทว่า รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ความว่า
ทรัพย์ที่สามีทำกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นแล้วนำมารักษาไว้. บทว่า
เป็นผู้ขยัน ความว่า เป็นผู้ฉลาดละเอียดละออในการจัดข้าวยาคูแลภัตร
เป็นต้น. บทว่า ไม่เกียจคร้าน ความว่า ไม่ขี้เกียจ ภรรยาไม่เป็นเหมือน
อย่างหญิงพวกอื่น ซึ่งเกียจคร้าน นั่งจมอยู่กับที่ที่ตนนั่ง ยืนและอยู่กับที่
ที่ตนยืนฉะนั้น ย่อมยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยใจกว้างขวาง. พึงประกอบ
บทที่เหลือในเรื่องนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบความในวาระทิศที่ 4. บทว่า ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาด
จากความเป็นจริง
ความว่า ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง
ถึงผู้ที่ยึดถือไว้แล้ว ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริงแล้วให้อย่างนี้
ว่า แม้ชื่อนี้ก็มีอยู่ในบ้านของพวกเรา แม้ชื่อนี้ก็มี ท่านจงรับเอาไปเถิด.
บทว่า นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ความว่า บุตรธิดาของสหายชื่อประชา
ก็บุตรธิดาของบุตรธิดาเหล่านั้น เป็นหลานและเป็นเหลน ชื่อว่า ประชา
อื่น ๆ ย่อมบูชา ย่อมยินดี ย่อมนับถือ พวกเขา กระทำการมงคลเป็นต้น
แก่พวกเขาในการทำพิธีมงคลเป็นต้น. บทที่เหลือในเรื่องนี้พึงประกอบ

โดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า ด้วยจัดการงานตามกำลัง ความว่า ด้วยไม่ให้คนแก่ทำงาน
ที่คนหนุ่มทำ หรือไม่ให้คนหนุ่มทำงานที่คนแก่ทำ ไม่ให้ชายทำงานที่หญิง
ทำ หรือไม่ให้หญิงทำงานที่ชายทำแล้วจัดการงานตามกำลังของคนนั้น ๆ.
บทว่า ด้วยให้อาหารและรางวัล ความว่า ด้วยกำหนดความสมควรของ
คนนั้นๆ ว่า คนนี้เป็นลูกคนเล็ก คนนี้อยู่ร่วมกันมา ดังนี้ แล้วให้อาหาร
และค่าใช้จ่าย. บทว่า ด้วยรักษาในเวลาเจ็บไข้ ความว่า ด้วยไม่ให้
ทำงานในเวลาไม่สบายแล้วให้ยาทำให้สบายเป็นต้น แล้วดูแลรักษา. บทว่า
ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ความว่า ด้วยเมื่อได้ของมีรส
อร่อยแปลก ๆ แล้วไม่กินเสียเองทั้งหมด แจกให้ทาสและกรรมกรเหล่านั้น.
บทว่า ด้วยปล่อยในสมัย ความว่า ด้วยปล่อยในนิจสมัยและกาลสมัย
ทาสและกรรมกรทำงานตลอดวันย่อมเหน็ดเหนื่อย เพราะฉะนั้น การรู้
เวลาแล้วปล่อยโดยประการที่ทาสและกรรมกรไม่เหน็ดเหนื่อย ชื่อว่าปล่อย
ในนิจสมัย. การให้ชอบตบแต่งของเคี้ยวแลของบริโภคเป็นต้น ในวันมี
มหรสพนักขัตฤกษ์ และเล่นกีฬาเป็นต้นแล้ว ปล่อย ชื่อว่าปล่อยในกาลสมัย.
บทว่า ถือเอาแต่ของที่นายให้ ความว่า ไม่หยิบฉวยอะไร ๆ
เยี่ยงโจร ถือเอาแต่ของที่นายให้เท่านั้น. บทว่า ทำการงานให้ดีขึ้น ความว่า
ไม่เพ่งโทษว่า เรื่องอะไรที่เราจะทำงานให้แก่เขา เราไม่เห็นได้อะไร ๆ เลย
แล้วมีใจยินดีทำงาน เป็นผู้กระทำงานอย่างที่ทำดีแล้ว. บทว่า นำคุณของ
นายไปสรรเสริญ
ความว่า เมื่อถึงคราวสนทนากันในท่ามกลางบริษัท
นำคุณของนายไปสรรเสริญว่าไม่มีใครเช่นกับนายของเรา เราไม่รู้แม้ความ
เป็นทาสของตน ไม่รู้ความที่ท่านเหล่านั้นเป็นนาย นายอนุเคราะห์พวกเรา

ถึงอย่างนี้. บทที่เหลือ แม้ในเรื่องนี้ พึงประกอบโดยนัยก่อนนั้นแล.
ท่านกล่าวเมตตากายกรรมเป็นต้นที่กุลบุตร เข้าไปตั้งเมตตาจิต
กระทำแล้ว ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น การไปวัดด้วยคิดว่า เราจักนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย
การถือ ธัมกรกกรองน้ำและการกระทำมีการนวดหลังและนวดเท้าเป็นต้น
ชื่อว่ากายกรรมประกอบด้วยเมตตา. การเห็นภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาต
แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกท่านจงถวายข้าวต้ม พวกท่านจงถวายข้าวสวย
โดยความเคารพดังนี้ การให้สาธุการแล้วฟังธรรมและการกระทำการปฏิ-
สันถารเป็นต้นโดยความเคารพ ชื่อว่า วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา. การ
คิดอย่างนี้ว่า พระเถระผู้เข้าไปสู่ตระกูลของพวกเรา ขอจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ขอจงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนเถิด ชื่อว่า มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา. บทว่า
อนาวฏทฺวารตาย แปลว่า ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู. ในบทนั้น
อธิบายว่ากุลบุตรแม้เปิดประตูทั้งหมด ไม่ให้ ไม่ต้อนรับผู้มีศีลทั้งหลาย
ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปิดประตูอยู่นั้นเอง. ก็แต่ว่ากุลบุตรแม้ปิดประตูทั้งหมด ให้
ต้อนรับ ผู้มีศีลเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้เปิดประตูอยู่นั้นเอง. เมื่อผู้มีศีลมา
ถึงประตูเรือน ไม่ควรกล่าวสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มี แล้วถวาย อย่างนี้ชื่อว่า ความ
เป็นผู้ไม่ปิดประตู. บทว่า ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ อธิบายว่า ของที่
ควรบริโภคก่อนภัตตาหาร ชื่อว่าอามิส เพราะฉะนั้น ด้วยการถวายข้าว
ยาคูและภัตแด่ผู้มีศีลทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า อนุเคราะห์ด้วยใจงาม ความว่า ด้วยแผ่ประโยชน์เกื้อกูล
อย่างนี้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข ไม่มีเวร ไม่มีโรค ไม่
เบียดเบียนกันเถิด. อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์ แม้พาเพื่อนพรหมจรรย์

ผู้มีศีลเหล่าอื่น แล้วเข้าไปสู่เรือนของอุปฐากทั้งหลาย ก็ชื่อว่า อนุเคราะห์
ด้วยใจงาม. บทว่า ทำสิ่งที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ความว่า มีสิ่งใดที่กุลบุตร
เหล่านั้นฟังแล้วตามปกติ สมณพราหมณ์ทั้งหลายบอกเนื้อความของสิ่งนั้น
แล้วบรรเทาความสงสัยหรือให้ปฏิบัติตามที่เป็นจริง. บทที่เหลือแม้ในเรื่องนี้
ก็พึงประกอบโดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า คฤหัสถ์ผู้สามารถ ความว่า คฤหัสถ์ผู้สามารถกระทำ
การเลี้ยงดูบุตรภรรยา แล้วให้ครองเรือน. บทว่า บัณฑิต คือเป็นผู้
ฉลาดในฐานะนอบน้อมทิศทั้งหลาย. บทว่า เป็นผู้ละเอียดคือ เป็นผู้
ละเอียดด้วยการเห็นความอันสุขุม หรือด้วยกล่าววาจานุ่มนวล. บทว่า
มีไหวพริบ คือ เป็นผู้มีไหวพริบในฐานะนอบน้อมทิศทั้งหลาย บทว่า
ถ่อมตน คือ ประพฤติต่ำ. บทว่า ไม่กระด้าง คือ เว้นจากความดื้อรั้น.
บทว่า มีความเพียร คือ ถึงพร้อมด้วยความขยันและความเพียร. บทว่า
ไม่เกียจคร้าน ความว่า ผู้ปราศจากความเกียจคร้าน. บทว่า มีความ
ประพฤติไม่ขาดสาย คือ มีความประพฤติไม่ขาดด้วยสามารถกระทำ
ติดต่อกันไป. บทว่า มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันทำให้เกิดฐานะ.
บทว่า เป็นผู้สงเคราะห์ คือ ทำการสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4. บทว่า
ทำให้เป็นมิตร คือ แสวงหามิตร. บทว่า เป็นผู้รู้ถ้อยคำ คือ รู้คำอัน
บุพการีกล่าว. อธิบายว่า ในเวลาไปเรือน สหาย ระลึกถึงคำพูดที่บุพการี
พูดว่า พวกท่านจงให้ผ้าโพก จงให้ผ้าสาฎกแก่สหายของเรา จงให้อาหาร
และค่าจ้างแก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อเขามาเรือนของตน เป็นผู้กระทำตอบ
เพียงเท่านั้น หรือยิ่งกว่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง รู้คำพูดของสหายนั้น แม้เป็น
คำพูดที่ประพฤติตามกันต่อ ๆ กันมา ไม่สามารถจะรับได้ด้วยความละอาย

สหายผู้มาด้วยคิดว่า เราจักไปเรือนของสหายแล้วจักถือเอาสิ่งนี้ดังนี้ เขา
มาด้วยประโยชน์อันใด ยังประโยชน์อันนั้นให้สำเร็จ ชื่อว่า รู้คำพูด
แม้ตรวจตราดูแล้วให้สิ่งที่สหายพร่อง ก็ชื่อว่า เป็นผู้รู้คำพูดเหมือนกัน
บทว่า เป็นผู้แนะนำ ความว่า เมื่อจะชี้แจงเนื้อความนั้น ๆ เป็นผู้แนะนำ
ด้วยปัญญา. ชี้แจงเหตุหลาย ๆ อย่าง แนะนำชื่อว่าเป็นผู้แนะนำเหตุผล
แนะนำบ่อย ๆ ชื่อว่า ตามแนะนำ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ความว่า ใน
บุคคลนั้น ๆ. บทว่า เหมือนสลักรถอันแล่นไปอยู่ ความว่า เมื่อการ
สงเคราะห์เหล่านี้ ยังมีอยู่โดยแท้ โลกยังเป็นไปได้ เมื่อไม่มีโลกก็เป็น
ไปไม่ได้ เหมือนสลักยังมีอยู่ รถย่อมแล่นไปได้ เมื่อสลักไม่มี รถก็แล่น
ไปไม่ได้ ฉะนั้น. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า การสงเคราะห์เหล่านี้แลใน
โลกเหมือนสลักรถแล่นไปอยู่ฉะนั้น. บทว่า มารดาไม่ได้รับความนับถือ
บูชาเพราะเหตุแห่งบุตร
ความว่า ผิว่ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์
ให้เล่านี้แก่บุตร มารดาไม่พึงได้ความนับถือหรือความบูชาเพราะเหตุแห่ง
บุตร. บทว่า สงฺคเห เอเต. เป็นปฐมาวิภัตติ์ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ์.
หรือปาฐะว่า สงฺคเห เอเต. บทว่า สมฺมเปกฺขนฺติ ตัดบทเป็น สมฺมา
เปกฺขนฺติ.
บทว่า ปสํสา จา ภวนฺติ แปลว่า ควรได้รับการสรรเสริญ.
ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
เธอจงนอบน้อมทิศที่บิดาของเธอกล่าวหมายถึง แล้วทรงแสดงทิศ 6 เหล่านี้
นั้นว่า ผิว่าเธอทำตามคำบิดา เธอจงนอบน้อมทิศเหล่านี้ ทรงตั้งคำถาม
แก่สิงคาลกะ ยังเทศนาให้ถึงที่สุดแล้ว เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อ
บิณฑบาต. แม้สิงคาลกะก็ได้ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย แล้วเฉลี่ยทรัพย์ 40

โกฏิ ไว้ในพระพุทธศาสนากระทำกรรมอันเป็นบุญ ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า. ก็ในสูตรนี้ ชื่อว่า กรรมใดที่คฤหัสถ์ควรทำอย่างใด
อย่างหนึ่ง กรรมนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสไว้ ย่อมไม่มี พระ-
สูตรนี้ ชื่อว่า คิหิวินัย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้วปฏิบัติตามที่
ได้สอนไว้ ความเจริญเท่านั้นเป็นอันหวังได้ ไม่มีความเสื่อมฉะนี้.
จบอรรถกถาสิงคาลกสูตร ที่ 8 ในทีฆนิกายอรรถกถา
ชื่อ สุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.

9. อาฏานาฏิยสูตร



เรื่องท้าวจาตุมหาราช



[207] ข้าพเจ้า ( พระอานนทเถระเจ้า ) ได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้
เมืองราชคฤห์. ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 ตั้งการคุ้มครองไว้ทั้ง 4 ทิศ
ตั้งกองทัพไว้ทั้ง 4 ทิศ ตั้งการป้องกันไว้ทั้ง 4 ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่
ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยเสนานาค
กองใหญ่ เมื่อล่วงราตรีไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้
สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น
บางพวก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นสัมโมทนียกถา อันเป็นที่
ระลึกถึงกันผ่านไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลี
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก
ประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[208] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวก
มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อ